กลยุทธ์การตั้งราคา Pricing Strategy แนวคิดที่พลิกแพลงใช้ขายของ Premium ได้เวิร์กขั้นสุด

นอกจากกลยุทธ์การตลาดที่นิยมนำไปปรับใช้ร่วมกับการขายหรือแจกของ Premium ในการดึงดูดความสนใจจากลูกค้า หรือเพื่อสร้างฐานลูกค้ากลุ่ม Loyalty กันแล้ว กลยุทธ์การตั้งราคา (Pricing Strategy) ก็นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพสูง ที่สามารถนำไปพลิกแพลงใช้ขายของ Premium ได้อย่างลงตัวเช่นกัน ไม่ว่าท่านจะสั่งผลิตของ Premium เพื่อนำมาขายทำกำไร หรือใช้ในการวางแผนควบคู่ไปกับการจัดแคมเปญโปรโมชันต่าง ๆ ดังนั้นบทความนี้ Bangkok Premiums จึงจะมาแนะนำให้รู้จักกลยุทธ์การตั้งราคา (Pricing Strategy) เด็ด ๆ ที่เหมาะสำหรับนำไปปรับใช้พลิกแพลงร่วมกับการใช้ของ Premium มาทำความเข้าใจไปพร้อมกันเลย

กลยุทธ์การตั้งราคา (Pricing Strategy) คืออะไร? สำคัญอย่างไรกับแบรนด์และของ Premium

Pricing Strategy คือกลยุทธ์การตั้งราคาของ Premium หรือสินค้าบริการ โดยมีวัตถุประสงค์สำหรับกำหนดความต้องการของสินค้าบริการ สร้างภาพลักษณ์ให้แก่แบรนด์และสินค้าบริการ รวมถึงเพื่อส่งเสริมแผนการตลาดของแบรนด์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเจ้าของกิจการ แบรนด์ และนักการตลาดมักจะตั้งราคาของ Premium และสินค้าบริการของแบรนด์อาศัยจากการตั้งราคาที่บวกเพิ่มจากต้นทุนในการผลิต แต่รู้หรือไม่ว่า กลยุทธ์การตั้งราคาที่ดี สามารถสร้างกำไรให้กับคุณได้นั้นยังมีอีกหลายแนวทางเลยทีเดียว

  • กลยุทธ์ตั้งราคาของ Premium แบบพรีเมี่ยม (Premium Pricing)

กลยุทธ์การตั้งราคาให้สูงกว่าตลาดหรือแบรนด์อื่นทั่วไป คือกลยุทธ์ที่เหมาะสำหรับของ Premium มาก ๆ เนื่องจากกลยุทธ์นี้จะเน้นการสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้มีความ Premium และ Luxury มากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณต้องมั่นใจด้วยว่าของ Premium ที่ตั้งราคาในรูปแบบนี้มี Value คุณภาพและภาพลักษณ์ที่เหมาะสม ซึ่งหากปรับใช้ได้ลงตัวกับประเภทของ Premium รับประกันได้เลยว่าสามารถสร้างผลกำไรได้อย่างรวดเร็วแน่นอน

  • กลยุทธ์ตั้งราคาของ Premium แบบตัวล่อ (Decoy Pricing)

กลยุทธ์การตั้งราคายอดนิยมในกลุ่มธุรกิจร้านคาเฟ่ ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการทำให้ลูกค้ายอมจ่ายมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันกลับรู้สึกถึงความคุ้มค่าไปในตัว วิธีการก็ง่าย ๆ คือตั้งราคาสินค้าหรือของ Premium ให้มีราคาที่ไม่สมเหตุสมผลสำหรับทำหน้าที่เป็นตัวหลอกล่อ เพื่อให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าบริการ (ที่มีต้นทุนถูก ๆ และเราได้กำไรสูงกว่าสินค้าชนิดอื่น ๆ) เช่น ตั้งราคาแก้วพรีเมี่ยมไซซ์เล็ก ราคา 250 บาท ในขณะที่แก้วพรีเมี่ยมไซซ์กลาง ราคา 270 บาท และไซซ์ใหญ่ราคา 280 บาท จะเห็นได้ชัดว่าลูกค้ามีแนวโน้มจะเลือกไซซ์เล็ก ไม่ก็ไซซ์ใหญ่ไปเลย ทั้ง ๆ ที่ราคาต้นทุนในการผลิตของ Premium ทั้งหมดอาจจะเท่ากันก็ได้ เป็นต้น

  • กลยุทธ์ตั้งราคาของ Premium ตามช่วงฤดูกาล (Seasonal Pricing)

กลยุทธ์การตั้งราคาที่เหมาะสำหรับการสั่งทำของ Premium รุ่นพิเศษที่จำหน่ายในช่วงงานเทศกาล หรืออีเวนต์พิเศษของแบรนด์ อาศัยช่วงเวลาพิเศษที่เป็นที่สนใจของลูกค้าในการปรับตั้งราคาสูงขึ้นแบบเนียน ๆ เพื่อทำกำไรจากการขาย หรือหากแบรนด์ไหนต้องการโละสต๊อกสินค้าเก่า กลยุทธ์ตั้งราคารูปแบบนี้ก็เวิร์กจริง ๆ ยิ่งหากสื่อสารกระตุ้นลูกค้าเพิ่มเติม เช่น สินค้ามีจำนวนจำกัด หรือจำหน่ายของ Premium ชิ้นนี้เฉพาะช่วงเวลานี้เท่านั้น รับประกันขายดีสุด ๆ มักพบได้บ่อยตามแบรนด์ร้านอาหารและคาเฟ่ อย่างร้าน Starbucks ใช้แนวทางนี้บ่อยมาก

  • กลยุทธ์ตั้งราคาขายของ Premium เป็นเซ็ต (Bundle Pricing)

ของ Premium เพียงชิ้นเดียวอาจจะน่าสนใจแล้ว แต่หากต้องการเพิ่มแรงดึงดูด กระตุ้นลูกค้าเป็นวงกว้าง เราขอแนะนำให้ตั้งราคาขายของ Premium และสินค้าบริการรวมเป็นเซ็ต เพราะการตั้งราคาลักษณะที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกถึงความคุ้มค่า ล่อตาล่อใจ และยอมจ่ายเงินซื้อสินค้าบริการในราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิมได้โดยไม่ลังเล เช่น จับเซ็ตของ Premium ควบไปกับสินค้าที่ต้องการโละสต๊อก และตั้งราคาขายในที่ถูกจากราคารวมเดิมแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น

เท่านี้ทุกคนก็เข้าใจถึงคอนเซ็ปต์ของกลยุทธ์การตั้งราคา (Pricing Strategy) และคงเริ่มเห็นแนวทางการนำไปปรับใช้ร่วมกับของ Premium ของคุณกันแล้วใช่ไหม สำหรับใครที่กำลังมองหาช่องทางในการสั่งผลิตของ Premium เป็นของตนเอง สามารถใช้บริการ Bangkok Premiums ได้ เพราะเราคือบริษัทตัวแทนบริหารสินค้าแบบครบวงจร พร้อมให้ความช่วยเหลือตั้งแต่การคัดเลือกของ Premium ที่ตรงกับแบรนด์และวัตถุประสงค์ของคุณ จัดหา สั่งผลิต และดำเนินการจัดส่งให้ถึงที่ หากคุณต้องการตัวช่วย เราคือตัวเลือกที่ใช่สำหรับคุณ ติดต่อเลยที่ : 022350277

Posted in

Bangkok Premiums

Leave a Comment